วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

โปรแกรม Wedding Album Maker Gold

การติดตั้ง
1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Wedding Album Maker Gold ตัวโปรแกรมจะเป็นไฟล์ซิป ให้เราแตกไฟล์ซิปออกโดยการคลิ๊กขวา แล้วเลือกที่ Extract to Wedding.Album.Maker.Gold V.2.71\
2. ที่นี้เราก็จะเห็นไฟล์ที่แตกออกมาอย่างในรูป จะมีไฟล์ที่ติดตั้งโปรแกรม กับไฟล์ที่ใช้ crack โปรแกรมให้เราดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Wedding.Album.Maker.Gold.v2.71.exe เพื่อทำการติดตั้ง
โปรแกรม
3. กด Next
4. กด Install ได้เลย
5. โปรแกรมจะถามว่าเราจะ บูธเครื่
องเลยป่าวถ้าเรายังไม่ต้องการบูธก็ให้เราเลือกที่ I want to manually reboot later และกด Finish


ขั้นตอนการใช้งาน
1.ส่วนของหน้า Desk Top จะมีโปรแกรม Wedding Album Maker อยู่ให้เราดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาเลย แล้วเราก็จะเห็นหน้าตาโปรแกรมอย่างภาพด้านล่าง ทีนี้เราก็จะมาเิริ่มทำ Presentation ได้เลย โดยคลิกที่ New ตรงช่องซ้ายล่าง

2.จากนั้นก็จะขึ้นหน้าต่าง Album Name มาก็ให้ใส่ชื่อที่ต้องการได้เลยแล้วกด OK










3.ให้เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการนำมาทำ presentation
4. จากนั้นให้ดูในรูปภาพตรงที่วงสีแดงไว้ จะมีให้เลือกว่าต้องการทำเป็นแบบไหนได้ทั้ง DVD, VCD, Web Album, You Tube และอื่นๆ อีกมากมายตามต้องการ แต่ว่าถ้าหากต้องการจะไปโชว์ในงานแต่งงานก็ให้คลิ๊กเลือกแบบ DVD หรือ VCD
5. เลือกรูปภาพได้เลย โดยเรียงลำดับก่อนหลัง เลือกโดยการดับเบิ้ลคลิ๊กหรือ ว่าคลิ๊กค้างไว้แล้วลากลงมาวางในช่องด้านล่างหรืออาจเพิ่มภาพโดยเลือกมาทั้งโฟล์เดอร์เลยก็ได้
หลังจากเลือกรูปภาพที่ต้องการครบแล้ว ให้เลือกแท็บ Transition&Music ในโปรแกรมจะมีเพลงให้อยู่แล้วเป็น default.mp3 ถ้าจะเปลี่ยนก็ให้ลบทิ้งแล้วคลิ๊กที่ Add เพิ่มเพลงที่ต้องการลงไป ส่วน effect เวลาเปลี่ยนภาพนั้นในโปรแกรมจะสุ่มเลือกมาให้อยู่แล้ว ถ้าไม่ชอบอันไหน ก็ให้คลิกเลือกที่ช่อง Transition Effect แล้วลากลงมาแทนที่อันเดิมได้เลยที่นี้เรามาดูแถบขวามือตรง Album Settings:- Transition duration: คือช่วงเวลาของ effect เวลาเปลี่ยนภาพ- Photo duration: คือช่วงเวลาการแสดงภาพ- Slideshow duration: คือช่วงเวลาทั้งหมดที่ภาพแสดง- Audio duration: คือช่วงเวลาของเพลง (ควรจะเท่ากับ slideshow duration - เพราะเพลงกับภาพจะได้จบพร้อมๆ กัน)- Background: คือสีพื้นหลัง- Pan&Zoom: คือเวลาตอนภาพแสดงจะมีการซูมเข้าออกเลื่อนไปมาจะทำให้ภาพดูสวยขึ้น
6. แท็บ Album Theme คือก่อนที่จะแสดงภาพหลายคนอาจจะอยากให้มี Title เกริ่นก่อนก็ให้แก้ไขเพิ่มเข้าไปได้เลย ถ้าดูจากในรูปก็ตรงคำว่า Welcome แก้ทับได้เลย และยังสามารถเลือก Effect ได้อีกด้วย ส่วนด้านขวามือเป็น Theme ที่อยากให้มี











7. หลังจากนั้นก็มาดูตัวอย่างตรงแท็บ Album Preview กด Play ลองเล่นดู ว่าดีหรือยังถ้ายังไม่ดีก็สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้
8.. มาถึงแท็บเบอร์ 2 ลองนึกภาพตอนเราใส่แผ่นหนังเกาหลีที่เป็น DVD แล้วแผ่นนึงมี 4-6 ตอน เหมือนกันเลย ถ้าหากไฟล์มีหลายไฟล์ที่มันไม่ต่อกันก็ใช้เมนูนี้ แต่ว่าถ้าเป็นงานแต่งงานส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้อันนี้ ก็ให้เลือกแท็บ Menu Navigator แล้วติ๊กเครื่องหมายถูกตรง Use DVD Menu ออก
9. ขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ถ้าหากแก้ไขจนเป็นที่พอใจของเราแล้วก็ให้เราทำการ Burn ลงแผ่นเพื่อไปใช้งานได้เลย คือเมนูเบอร์ 3


















ส่วนต่างๆของโปรแกรม
หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว หน้าตาโปรแกรมก็จะเป็นแบบนี้







แถบ Organize Photo เป็นของส่วนโฟลเดอร์ที่เราเก็บรูปเอาไว้










ส่วนนี้ใช้สำหรับสร้างงานขึ้นมาใหม่





ตั้งชื่อ แล้วเลือกงานที่จะทำ เพื่อเป็นการสร้างชิ้นงานใหม่











Album Photo ส่วนนี้ใช้สำหรับเลือกรูปเข้ามาโดย Add ทีละรูปหรือ ถ้าเลือกทั้งหมดคลิก Add All








Transition & Music เป็นส่วนของการใส่เสียงเพลง และรูปแบบของการเปลี่ยนรูปภาพ











Album Theme เป็นการกำหนดรูปแบบของกรอบภาพ เป็นรูปเคลื่อนไหว มีหลายแบบ สวยมากขอบอก (แต่จะเน้นไปทางงานแต่งงานซะมากกว่า)











Album Preview เป็นการดูรูปแบบงานที่เราเลือกไว้ได้เลย










Choose Menus เป็นการเลือกรูปแบบเมนูไตเติ้ล










ส่วนของข้อความสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรูปแบบของตัวหนังสือได้ตรงนี้ รองรับภาษาไทย






ส่วนของรูปแบบของเมนูที่มีให้เลือกอีกมากมาย

















เมนูสุดท้าย เป็นเมนูสำหรับทำไฟล์ที่เราได้เลือกรูปแบบเอาไว้ให้เป็นไฟล์สไลด์ไชว์

















ส่วนของรูปแบบของไฟล์ให้เลือกหลากหลายตามต้องการก่อนทำการบันทึก (ถ้าเน้นคุณภาพความคมชัดก็ต้อง DVD)













\





ส่วนของการบันทึก หากต้องการเขียนไฟล์ลงแผ่นให้เลือก Create Disc Image





ทำการบั นทีกงาน
ลิงค์สมาชิกภายในกลุ่ม
  1. นส.วราลักษณ์ ผุดสวัสดิ์
  2. นส.ศรียา ศรีทะสะโร
  3. นส.อริตา สาโร

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา

1. ทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
1.1 การสื่อสารการเรียนรู้การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) หมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (กิดานันท์ มลิทอง, 2540) รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1) การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันที (Immediate Response) กับผู้ส่ง แต่อาจจะมีผลป้อนกลับไปยังผู้ส่งในภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้ส่งและผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที
2) การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกันดังนั้น ในการที่จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้นี้ มักจะพบว่าต้องอาศัยกระบวนการของการสื่อสารในรูปแบบของการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง ในลักษณะของการให้สิ่งเร้าเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการแปลความหมายของเนื้อหาบทเรียนนั้น และให้มีการตอบสนองเพื่อเกิดเป็นการเรียนรู้ขึ้น ลักษณะของสิ่งเร้าและการตอบสนองในการสื่อสารนี้ หมายถึง การที่ผู้สอนให้สิ่งเร้าหรือส่งแรงกระตุ้นไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีการตอบสนองออกมา โดยผู้สอนอาจใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นผู้ส่งเนื้อหาบทเรียน ส่วนการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ คำพูด การเขียน รวมถึงกระบวนการทั้งหมดทางด้านความคิด การเรียนรู้ การเรียนรู้ซึ่งอาศัยรูปแบบการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการให้สิ่งเร้าหรือแรงกระตุ้น การแปลความหมาย และการตอบสนองนั้น มีดังนี้
1) การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เช่น การสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่โดยการฉายวีดิทัศน์ โทรทัศน์วงจรปิด หรือวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน ซึ่งการเรียนการสอนในลักษณะเช่นนี้ควรจะมีการอธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียน หรืออาจจะมีการอภิปรายภายหลังจากการเรียน หรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและแปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกัน จะได้มีการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ในทำนองเดียวกัน
2) การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง อาจทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยหรือการใช้เครื่องช่วยสอน เนื้อหาจะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง การเรียนการสอนในลักษณะนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น ความฉับพลันของการให้คำตอบจากโปรแกรมบทเรียนที่วางไว้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน เป็นการทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้และทำให้การถ่ายทอดความรู้บรรลุผลด้วยดี เป็นต้นถึงแม้ว่าการเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทางนี้จะมีประสิทธิภาพดีต่อการเรียนรู้มากกว่าการสื่อสารทางเดียวก็ตาม แต่บางครั้งแล้วในลักษณะของการศึกษาบางอย่างมีความจำเป็นต้องใช้การเรียนการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เพื่อการให้ความรู้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้เพราะจำนวนผู้เรียนอาจจะมีมาก และมีอุปกรณ์ช่วยสอน ไม่เพียงพอ เป็นต้น

1.2 สื่อการเรียนรู้กิดานันท์ มลิทอง (2540) กล่าวว่า สื่อนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ การใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ และคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดีเอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (Cone of Experiencess) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1) ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2) ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
4) การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5) การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6) นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7) โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8) ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10) ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
11) วจนการใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด

รูปแบบของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการศึกษา
1. คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนำเสนอบทเรียน (Computer Multimedia Presentation) โดยผู้สอนเป็นผู้ใช้อย่างเดียวในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนพร้อมประกอบด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียงประกอบรวมทั้งมีการอธิบายโดยผู้สอนในรายละเอียดของเนื้อหา
2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI (Computer Assisted Instruction) ส่วนใหญ่มักจะจัดทำเน้นไปทางการเรียนด้วยตนเองมากโดยผู้เรียนเป็นคนใช้โดยออกแบบวิธีการเสนอเนื้อหาบทเรียน (Instructional (Design) ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ใช้เทคนิคของการเสริมแรง (Reinforcement) และหลักการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) และหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้โดยเฉพาะกระบวนการของจิตวิทยา Cognitive psychology ที่เน้นกระบวนการคิดและใช้วิธีการวิเคราะห์การเรียนรู้ข่าวสารของมนุษย์นำมาใช้ประกอบกันอย่างเป็นระบบ(System)
3. หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Textbook) เป็นการจัดทำเนื้อหาในตำราและหนังสือเรียนให้อยู่ในรูปของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย โดยมีรายละเอียดด้านเนื้อหารูปภาพเหมือนหนังสือทั่วไป โดยอาจมีภาพเคลื่อนไหว และเสียงรวมทั้ง ไฮเปอร์เท็กซ์เข้ามาประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้มีสีสันรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น
4. หนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Reference) เป็นการจัดทำหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น เอ็นไซโคลพีเดีย,ดิกชันนารี,นามานุกรม,วารสารที่ออกเป็นชุด ฯลฯ ให้อยู่ในรูปของซอฟต์แวร์มัลติมีเดีย โดยมีรายละเอียดการจัดทำเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์